การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะเริ่มต้นง่าย ใช้อุปกรณ์ไม่มาก และให้ประโยชน์กับร่างกายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งลดน้ำหนัก เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หรือพัฒนาระบบหัวใจและหลอดเลือด แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าจะเริ่มต้นวิ่งอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย บทความนี้จะรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการวิ่งตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงเทคนิคขั้นสูง เพื่อให้คุณสามารถวิ่งออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ไม่ว่าจะเลือกวิ่งกลางแจ้งหรือวิ่งบนลู่ไฟฟ้า
พื้นฐานที่ควรรู้ก่อนเริ่มวิ่ง
การเลือกรูปแบบการวิ่งที่เหมาะกับตัวเอง พบว่าหลายคนมักเลือกรูปแบบการวิ่งที่ไม่เหมาะกับตัวเอง ทำให้เบื่อและล้มเลิกกลางคัน ผมขอแนะนำวิธีเลือกการวิ่ง ดังนี้
- ผู้เริ่มต้น ควรเริ่มจากการเดินเร็วสลับวิ่งเบาๆ โดยเฉพาะถ้าน้ำหนักเกิน การวิ่งบนลู่วิ่งจะเป็นตัวเลือกที่ดีเพราะควบคุมความเร็วและลดแรงกระแทกได้ดี
- คนทำงานออฟฟิศ การวิ่งในร่มหรือบนลู่วิ่งจะเหมาะสมกว่า เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องสภาพอากาศและความปลอดภัย ผมมักแนะนำให้ลูกค้ากลุ่มนี้เริ่มจาก 15-20 นาทีก่อน
- นักกีฬาหรือคนที่ต้องการพัฒนาสมรรถภาพ สามารถเลือกวิ่งได้ทั้งกลางแจ้งและในร่ม แต่ควรมีการวางแผนโปรแกรมที่ชัดเจน
ทำไมลู่วิ่งไฟฟ้าถึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
ประหยัดเวลาและควบคุมการออกกำลังกายได้ดีกว่า
การวิ่งบนลู่ไฟฟ้าช่วยประหยัดเวลาเดินทางไปฟิตเนสหรือสวนสาธารณะ เหมาะสำหรับคนทำงานที่มีเวลาจำกัด คุณสามารถออกกำลังกายได้ทันทีที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้าก่อนไปทำงาน หรือตอนเย็นหลังเลิกงาน นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมความเร็วและความชันได้อย่างแม่นยำ ทำให้การวิ่งลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปลอดภัยและเหมาะกับทุกสภาพอากาศ
ลู่วิ่งไฟฟ้าช่วยให้คุณวิ่งออกกำลังกายได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องมลพิษ ฝุ่น PM 2.5 หรือแสงแดดที่ร้อนจัด การวิ่งในร่มยังช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุบนท้องถนน พื้นผิวของลู่วิ่งถูกออกแบบมาเพื่อรองรับแรงกระแทก ช่วยถนอมข้อเข่าและข้อเท้าได้ดีกว่าการวิ่งบนพื้นแข็ง
วัดผลและติดตามความก้าวหน้าได้แม่นยำ
ลู่วิ่งไฟฟ้ารุ่นใหม่มาพร้อมระบบติดตามผลที่แม่นยำ ทั้งระยะทาง ความเร็ว แคลอรี่ที่เผาผลาญ และอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้คุณสามารถวางแผนการออกกำลังกายและปรับโปรแกรมการวิ่งให้เหมาะสมกับเป้าหมายของคุณได้ง่ายขึ้น บางรุ่นยังสามารถเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นเพื่อบันทึกสถิติและติดตามพัฒนาการในระยะยาว
อุปกรณ์จำเป็นสำหรับการวิ่งออกกำลังกาย
1.รองเท้าวิ่ง
เป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดสำหรับนักวิ่งการเลือกรองเท้าวิ่งที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการบาดเจ็บและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย ปัจจัยที่ต้องพิจารณามีดังนี้
ลักษณะเท้าและลักษณะการวิ่ง
ผมอยากให้ทุกคนพิจารณาตนเองว่าเวลาวิ่งของคุณนั้นเป็นการวิ่งลักษณะใดลงไปที่ลู่วิ่งไฟฟ้า
รูปแบบการลงเท้า (Foot Strike)
- ส้นเท้า ลงส้นเท้าก่อน เหมาะกับวิ่งระยะไกล ต้องการรองเท้าที่มีคุชชั่นส้นเท้ามาก
- กลางเท้า ลงกลางเท้า เป็นธรรมชาติที่สุด เหมาะกับรองเท้าคุชชั่นปานกลาง
- ปลายเท้า ลงปลายเท้า มักพบในนักวิ่งความเร็วสูง ต้องการรองเท้าเบาคุชชั่นน้อย
การกระดกเท้า (Pronation)
- แบบปกติ เท้าม้วนในเล็กน้อย ใช้รองเท้าทั่วไปได้
- กระดกเท้ามากเกินไป เท้าม้วนในมาก ต้องการรองเท้าที่มี stability
- กระดกน้อยเกินไป เท้าแข็ง ต้องการรองเท้าที่มีความยืดหยุ่นสูง
รูปโค้งของเท้า (Arch)
- สูง อุ้งเท้าสูง ต้องการรองเท้าที่ยืดหยุ่นดี
- กลาง อุ้งเท้าปกติ เลือกรองเท้าได้หลากหลาย
- แบน อุ้งเท้าแบน ต้องการรองเท้าที่มีการรองรับอุ้งเท้า
คุณสมบัติสำคัญของรองเท้าวิ่ง
ระบบรองรับแรงกระแทก (Cushioning)
- เทคโนโลยีพื้นรองเท้าช่วยลดแรงกระแทกขณะวิ่งออกกำลังกาย
- ป้องกันการบาดเจ็บที่เข่าและข้อเท้า
- แนะนำคุชชั่นหนาสำหรับวิ่งลดน้ำหนักบนลู่วิ่งไฟฟ้า
ความมั่นคง (Stability)
- ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้า
- เหมาะสำหรับการวิ่งระยะยาว
- ป้องกันอาการบาดเจ็บจากการวิ่งผิดท่า
น้ำหนักรองเท้า (Weight)
- รองเท้าเบาช่วยประหยัดพลังงานขณะวิ่ง
- เหมาะกับการวิ่งความเร็วสูง
- น้ำหนักมากขึ้นช่วยเพิ่มความมั่นคง
การระบายอากาศ (Ventilation)
- ลดความอับชื้นระหว่างออกกำลังกาย
- ป้องกันกลิ่นและเชื้อรา
- เหมาะสำหรับวิ่งในร่มบนลู่วิ่งไฟฟ้า
ประเภทรองเท้าตามการใช้งาน
รองเท้าสำหรับวิ่งระยะไกล
รองเท้าประเภทนี้มีระบบคุชชั่นหนา รองรับแรงกระแทกได้ดี เหมาะสำหรับการวิ่งมาราธอนหรือการวิ่งระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตร สังเกตได้จากพื้นรองเท้าที่หนา และมักมีคำว่า “Marathon” หรือ “Long Distance” บนกล่อง
รองเท้าสำหรับวิ่งเร็ว
น้ำหนักเบา ยืดหยุ่นสูง เหมาะกับการวิ่งความเร็วสูง การวิ่งแบบ interval และการวิ่งแข่งขัน มักมีคำระบุว่า “Race”, “Speed” หรือ “Competition” บนผลิตภัณฑ์
รองเท้าสำหรับวิ่งในร่ม
พื้นรองเท้าออกแบบเฉพาะสำหรับวิ่งบนลู่และลู่วิ่งไฟฟ้า มีการระบายอากาศดี เหมาะสำหรับการออกกำลังกายในฟิตเนส สังเกตจากพื้นรองเท้าที่เรียบและมักมีคำว่า “Gym”, “Treadmill” หรือ “Indoor”
รองเท้าสำหรับวิ่งเทรล
พื้นรองเท้าหนา มีดอกยางสำหรับยึดเกาะ ทนทานต่อการใช้งานหนัก เหมาะสำหรับวิ่งตามเส้นทางธรรมชาติ สังเกตได้จากดอกยางที่หยาบและมักมีคำว่า “Trail”, “Off-road” หรือ “All-terrain”
ชุดวิ่ง
การเลือกชุดสำหรับการวิ่งและออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ เสื้อผ้าควรผลิตจากเนื้อผ้า Dry-tech ที่ระบายเหงื่อได้ดี รูปทรงกระชับไม่รุ่มร่ามเพื่อไม่ให้รบกวนการวิ่ง หากต้องวิ่งตอนกลางคืนควรมีแถบสะท้อนแสง ส่วนถุงเท้าควรป้องกันการเสียดสีและระบายอากาศได้ดี โดยเฉพาะเมื่อต้องวิ่งบนลู่เป็นเวลานาน
นาฬิกาวัดชีพจร
นาฬิกาวัดชีพจรเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยควบคุมความหนักในการวิ่งออกกำลังกาย สามารถวัดอัตราการเต้นหัวใจและคำนวณแคลอรี่ที่เผาผลาญได้ เมื่อใช้กับลู่วิ่งไฟฟ้า สามารถเชื่อมต่อเพื่อแสดงผลแบบ Real-time ช่วยให้วิ่งได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งลดน้ำหนัก หรือการวิ่งเพื่อพัฒนาสมรรถภาพ การมีนาฬิกาวัดชีพจรจะช่วยให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การวอร์มอัพและคูลดาวน์
การวอร์มอัพและคูลดาวน์เป็นขั้นตอนสำคัญที่นักวิ่งไม่ควรมองข้าม เพราะช่วยเตรียมร่างกายก่อนการวิ่งและฟื้นฟูหลังออกกำลังกาย จากการศึกษาพบว่าการเตรียมร่างกายที่ดีช่วยลดความเสี่ยงการบาดเจ็บได้มากถึง 30% โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่วิ่งบนลู่ไฟฟ้าเป็นประจำ การวอร์มอัพช่วยให้กล้ามเนื้อพร้อมทำงาน ในขณะที่การคูลดาวน์ช่วยให้ร่างกายปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งสองขั้นตอนนี้จึงเป็นเหมือนกุญแจสำคัญสู่การวิ่งออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
วอร์มอัพ (5-10 นาที)
1.เดินเร็ว 2-3 นาที
การเดินเร็วช่วยเพิ่มอุณหภูมิร่างกายและอัตราการเต้นของหัวใจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อพร้อมสำหรับการวิ่ง เหมาะสำหรับการเริ่มต้นออกกำลังกายบนลู่วิ่งไฟฟ้า
2.ยืดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนไหว
การยืดกล้ามเนื้อแบบไดนามิกช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ลดความเสี่ยงการบาดเจ็บ และกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ใช้ในการวิ่ง เช่น ต้นขา น่อง และสะโพก
3.วิ่งเหยาะๆ 2-3 นาที
การวิ่งเบาๆ ช่วยปรับสภาพร่างกายให้พร้อมสำหรับการวิ่งที่เข้มข้นขึ้น เพิ่มการไหลเวียนเลือด และทำให้ระบบประสาทกล้ามเนื้อทำงานสอดประสานกัน
คูลดาวน์ (5-10 นาที)
1.วิ่งช้าลง
การค่อยๆ ลดความเร็วในการวิ่งหลังจากวิ่งเสร็จช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลงอย่างปลอดภัย ป้องกันอาการหน้ามืด และช่วยให้ร่างกายเริ่มกระบวนการฟื้นฟูตัวเอง
2.เดินเบาๆ
การเดินหลังวิ่งช่วยระบายของเสียออกจากกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย และทำให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป
3.ยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้
การยืดกล้ามเนื้อแบบสถิตหลังออกกำลังกายช่วยคลายกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น และลดอาการตึงที่อาจเกิดขึ้นในวันถัดไป โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มวิ่ง
โปรแกรมออกกำลังกายด้วยลู่วิ่งไฟฟ้า
วิ่งลดน้ำหนัก
การใช้ลู่วิ่งไฟฟ้าเพื่อลดน้ำหนักเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นลดน้ำหนัก เนื่องจากสามารถปรับระดับความเร็วของลู่วิ่งไฟฟ้าและเลือกระดับความชันตามที่ต้องการได้
- โดยในสัปดาห์แรก แนะนำให้เริ่มจากการเดินเร็วประมาณ 20 นาที ที่ความเร็ว 4-5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายปรับตัว
- เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่สอง เริ่มสลับระหว่างเดินและวิ่งเบาๆ ใช้เวลารวม 30 นาที ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญและสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ จากนั้นในสัปดาห์ที่สาม เพิ่มเป็นการวิ่งต่อเนื่อง 30 นาที ที่ความเร็ว 6-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
วิ่งเพื่อเพิ่มความอึดให้ร่างกาย
การพัฒนาความอึดบนเครื่องออกกำลังกายประเภทลู่วิ่ง ต้องอาศัยการเดินชันเป็นหลัก โดยให้เริ่มจากความชันต่ำก่อน และค่อยๆเพิ่มครั้งละ 1-2ระดับ ต่อครั้งที่วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า
การสลับระดับความชันระว่างความชันต่ำและความชันสูงไปมา จะช่วยพัฒนาการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดได้ดีขึ้น แนะนำให้วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าที่ความชันต่ำ 5 นาที สลับกับความชันสูง 2 นาที ทำซ้ำ 4-5 รอบ
เทคนิคการใช้เครื่องออกกำลังกายประเภทลู่วิ่งไฟฟ้า
การปรับความชันและความเร็ว
การปรับความชันและความเร็วบนลู่วิ่งไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการออกกำลังกาย สำหรับผู้เริ่มต้น ควรเริ่มที่ความเร็ว 4-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความชัน 0-1% เพื่อให้ร่างกายปรับตัว หลังจากนั้นค่อยๆ เพิ่มความท้าทายตามความเหมาะสม
การวิ่งบนtreadmillที่ถูกต้อง
งต้องรักษาท่าทางให้ตรง มองไปข้างหน้า แกว่งแขนเป็นจังหวะ และลงเท้าให้นุ่มนวล การใส่รองเท้าที่เหมาะสมและการวอร์มอัพเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันการบาดเจ็บ
ระบบความปลอดภัยที่ควรรู้
ลู่วิ่งไฟฟ้ารุ่นใหม่มาพร้อมระบบความปลอดภัยมาตรฐาน เช่น ปุ่มฉุกเฉิน สายคล้องนิรภัย และระบบตัดไฟอัตโนมัติ ผู้ใช้ควรศึกษาการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
ประเภทการวิ่ง การวิ่งรูปแบบต่างๆ
1.Tempo Run
เทคนิคพัฒนาความเร็ว จากประสบการณ์สอนของผม Tempo Run เป็นการซ้อมที่มีประสิทธิภาพมากในการพัฒนาความเร็วและความอึด
วิธีทำการวิ่งแบบ Tempo Run
- วิ่งอุ่นเครื่อง 10 นาที
- วิ่งเร็วปานกลาง (สามารถพูดคุยได้สั้นๆ) 20-30 นาที
- วิ่งเบาคูลดาวน์ 10 นาที
2.วิ่งแบบ Interval Training
สร้างความอึด งานวิจัยจาก Journal of Sports Science (2020) พบว่า Interval Training ช่วยเพิ่ม VO2 max ได้ดีกว่าการวิ่งแบบต่อเนื่อง 15%
ตัวอย่างโปรแกรม
- วิ่งเร็ว 1 นาที สลับเดินเร็ว 1 นาที (ทำ 10 รอบ)
- วิ่งเร็ว 400 เมตร พัก 200 เมตร (ทำ 8 รอบ)
3.วิ่งแบบ HIIT
เผาผลาญไขมันสูงสุด HIIT เป็นการฝึกที่ใช้เวลาสั้นแต่ได้ผลดี เหมาะสำหรับคนที่มีเวลาจำกัด
ตารางตัวอย่างการวิ่งแบบ HIIT
ช่วงเวลา | ความเข้มข้น | หมายเหตุ |
นาทีที่ 0-5 | 50% | วอร์มอัพ |
นาทีที่ 5-6 | 90% | วิ่งเร็วสุด |
นาทีที่ 6-8 | 60% | พักร่างกายตัวการเดินเร็ว |
และให้ทำการวิ่งแบบ HIIT ซ้ำ 6-8 ครั้งต่อรอบการวิ่ง |
เทคนิค SMART ช่วยให้การวิ่งง่ายขึ้น ถึงเป้าหมายที่วางไว้
- Specific เป้าหมายชัดเจน เช่น วิ่ง 5K
- Measurable วัดผลได้
- Achievable ทำได้จริง
- Relevant สอดคล้องกับชีวิต
- Time-bound มีกำหนดเวลา
3 เทคนิคลับ วิ่งอย่างไรให้เหนื่อยช้า
1.จังหวะการหายใจ
ให้หายใจแบบ 2:2 คือการหายใจเข้า 2 ก้าว และหายใจออก 2 ก้าว เหมาะสำหรับการวิ่งความเร็วปานกลาง ช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนสม่ำเสมอ และช่วยควบคุมจังหวะการวิ่ง สำหรับการวิ่งเร็วอาจใช้จังหวะ 1:1 ส่วนการวิ่งเบาๆ อาจใช้ 3:3
2.การจดจ่อกับจังหวะการวิ่ง
การมีสมาธิกับจังหวะก้าวช่วยให้การวิ่งมีประสิทธิภาพ ควรสังเกตการก้าวเท้า การเคลื่อนไหวของแขน และการทรงตัว นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล ทำให้จิตใจสงบ เกิดสมาธิระหว่างวิ่ง
3.การแบ่งระยะทางเป็นช่วงสั้นๆ
การแบ่งเป้าหมายระยะทางเป็นช่วงสั้นๆ ทำให้การวิ่งง่ายขึ้น เช่น แบ่ง 5 กิโลเมตรเป็น 5 ช่วง ช่วงละ 1 กิโลเมตร หรือตั้งเป้าหมายย่อยตามจุดสังเกต เช่น ต้นไม้ เสาไฟ ทำให้รู้สึกว่าเป้าหมายไม่ไกลเกินไป และมีกำลังใจวิ่งต่อ
การวิ่งสำหรับกลุ่มพิเศษ
การวิ่งสำหรับผู้สูงอายุ การศึกษาจาก Journals of Gerontology (2021) พบว่าการวิ่งช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกและกล้ามเนื้อ แนะนำให้
- เริ่มจากการเดินเร็ว
- ค่อยๆ เพิ่มเป็นวิ่งเหยาะ
- วิ่งบนลู่วิ่งดีกว่าวิ่งถนน
- ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่ม
การวิ่งสำหรับผู้มีน้ำหนักเกิน
- เริ่มจากการเดิน 30 นาที
- เพิ่มช่วงวิ่งทีละ 30 วินาที
- ใช้ลู่วิ่งเพื่อลดแรงกระแทก
- เน้นความสม่ำเสมอมากกว่าความเร็ว”
โปรแกรมวิ่งลดน้ำหนัก 4 สัปดาห์
สัปดาห์ที่ 1
วิ่งออกกำลังกายเบาๆ 20 นาที 3 วัน/สัปดาห์
สัปดาห์ที่ 2
วิ่งออกกำลังกายเบา 30 นาที 3 วัน/สัปดาห์
สัปดาห์ที่ 3
เพิ่มการวิ่งแบบ Interval 2 วัน และตามด้วยวิ่งเบา 1 วัน
สัปดาห์ที่ 4
เพิ่มการวิ่งแบบ HIIT 2 วัน และวิ่งเบา 2 วัน
ส่วนวันที่เหลือให้ทำการพักกล้ามเนื้อครับ อาจจะไปเวทเทรนนิ่ง ยกดัมเบล ออกกำลังด้วยท่าต่างๆ ได้เช่นกันครับ
วิ่งโซนไหนดี และ คํานวณ heart rate zone 2 กัน
โซนอัตราการเต้นหัวใจ การวิ่งที่มีประสิทธิภาพต้องควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ในโซนที่เหมาะสม
โซน | % Max HR | ประโยชน์ |
1 | 50 – 60% | ฟื้นฟูร่างกาย |
2 | 60 – 70% | เผาผลาญไขมัน |
3 | 70 – 80% | พัฒนาความอึด |
4 | 80 – 90% | เพิ่มความเร็ว |
5 | 90 – 100% | สร้างความทนทาน |
Tips แนะนำให้เริ่มต้นที่วิ่งโซน 2 ก่อน โดยเฉพาะถ้าเป้าหมายคือการวิ่งลดน้ำหนัก เพราะเป็นโซนที่เผาผลาญไขมันได้ดีและไม่หนักเกินไป
วิธีคำนวณอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสม (Heart Rate)
การคำนวณอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (Maximum Heart Rate)
สูตรพื้นฐาน 220 – อายุ
ตัวอย่าง อายุ 30 ปี Maximum Heart Rate(Max HR) = 220 – 30 = 190 ครั้ง/นาที
การคำนวณโซนการวิ่งต่างๆ วิ่งโซน1 วิ่งโซน2 วิ่งโซน3
โซน 1 Recovery Zone (50-60% ของ Max HR)
เป็นโซนที่ใช้ในการฟื้นฟูร่างกาย และ เหมาะสำหรับการวิ่งเบาๆ หลังจากวิ่งหนัก หรือใช้สำหรับวอร์มอัพและคูลดาวน์
โซน 2 Fat Burning Zone (60-70% ของ Max HR)
โซนเผาผลาญไขมันสูงสุด เหมาะสำหรับวิ่งลดน้ำหนัก และการวิ่งระยะยาว ร่างกายจะเผาผลาญไขมันเป็นพลังงานหลัก เป็นระดับที่วิ่งสบายๆ พูดคุยได้ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นวิ่ง
โซนเผาผลาญไขมัน (60-70% ของ Max HR)
- คำนวณ Max HR x 0.6 ถึง 0.7
- ตัวอย่าง 190 x 0.6 = 114 ถึง 190 x 0.7 = 133 ครั้ง/นาที
โซนพัฒนาความเร็ว (80-90% ของ Max HR)
- คำนวณ Max HR x 0.8 ถึง 0.9
- ตัวอย่าง 190 x 0.8 = 152 ถึง 190 x 0.9 = 171 ครั้ง/นาที
โซน 3 Aerobic Zone (70-80% ของ Max HR)
โซนพัฒนาระบบหัวใจและหลอดเลือด เหมาะสำหรับการวิ่งแบบ Base Training เพื่อสร้างความอึดทน ร่างกายจะเริ่มใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงานมากขึ้น ช่วยพัฒนาระบบหายใจและการไหลเวียนเลือด
- คำนวณ Max HR x 0.7 ถึง 0.8
- ตัวอย่าง 190 x 0.7 = 133 ถึง 190 x 0.8 = 152 ครั้ง/นาที
โซน 4 Anaerobic Zone (80-90% ของ Max HR)
โซนพัฒนาความเร็วและความอึด เหมาะสำหรับการวิ่งแบบ Tempo Run ร่างกายจะใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ออกซิเจน เหมาะสำหรับนักวิ่งที่ต้องการพัฒนาความเร็ว
- คำนวณ Max HR x 0.8 ถึง 0.9
- ตัวอย่าง 190 x 0.8 = 152 ถึง 190 x 0.9 = 171 ครั้ง/นาที
โซน 5 Maximum Zone (90-100% ของ Max HR)
โซน 5 หรือ Maximum Zone คือโซนที่เน้นการพัฒนาความเร็วสูงสุด และความสามารถในการใช้พลังงานอย่างเต็มที่ในระยะเวลาสั้น ๆ โดยอัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ในช่วง 90-100% ของ Max HR ซึ่งถือเป็นระดับที่ใช้พลังงานและความพยายามสูงสุดของร่างกาย
- คำนวณ Max HR x 0.8 ถึง 0.9
การเผาผลาญแคลอรี่ วิ่งได้กี่แคล
การวิ่งออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่เผาผลาญพลังงานได้ดี โดยอัตราการเผาผลาญแคลอรี่จะแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1.น้ำหนักตัว
คนที่มีน้ำหนักมากจะเผาผลาญแคลอรี่ได้มากกว่าคนน้ำหนักน้อยในระยะเวลาวิ่งเท่ากัน เพราะต้องใช้พลังงานมากกว่าในการเคลื่อนไหวร่างกาย
2.ความเร็วในการวิ่ง
การวิ่งเร็วจะเผาผลาญพลังงานมากกว่าวิ่งช้า โดยทุกๆ 1 กิโลเมตรต่อชั่วโมงที่เพิ่มขึ้น จะเผาผลาญแคลอรี่เพิ่มประมาณ 15-20%
3.ระยะเวลา
ยิ่งวิ่งนาน ยิ่งเผาผลาญพลังงานมาก แต่ควรเพิ่มเวลาทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายปรับตัว โดยเฉพาะเมื่อวิ่งบนลู่ไฟฟ้า
4.ความชัน
การปรับความชันบนลู่วิ่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุก 1% จะเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่ประมาณ 10% เพราะกล้ามเนื้อต้องทำงานหนักขึ้น
ตัวอย่างการเผาผลาญแคลอรี่ (สำหรับคนน้ำหนัก 70 กก.)
- วิ่ง 8 กม./ชม. = 400 แคลอรี่/ชั่วโมง
- วิ่ง 10 กม./ชม. = 600 แคลอรี่/ชั่วโมง
- วิ่ง 12 กม./ชม. = 800 แคลอรี่/ชั่วโมง
- วิ่ง 14 กม./ชม. = 1000 แคลอรี่/ชั่วโมง
ตารางประมาณการเผาผลาญแคลอรี่ (สำหรับคนน้ำหนัก 70 กก.)
ความเร็ว (กม./ชม.) | แคลอรี่/ชั่วโมง |
8 | 400 |
10 | 600 |
12 | 800 |
14 | 1000 |
โปรแกรมฝึกซ้อมวิ่งมาราธอน 42.195 กิโลเมตร: แผนการฝึก 16 สัปดาห์เอาชนะมาราธอน
การเตรียมตัววิ่งมาราธอนต้องการแผนการฝึกซ้อมที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ผู้เขียนมีโปรแกรมฝึกซ้อมมาราธอนแบบครบวงจร 16 สัปดาห์ เหมาะสำหรับทั้งนักวิ่งมือใหม่ที่ต้องการพิชิตมาราธอนครั้งแรก และนักวิ่งที่ต้องการพัฒนาเวลาให้ดีขึ้น โดยแบ่งการฝึกเป็น 4 ช่วงหลัก ได้แก่ การสร้างพื้นฐาน การเพิ่มระยะทาง การพัฒนาความเร็วและความอดทน และช่วง Peak กับ Taper
แจกตารางโปรแกรมฝึกซ้อมมาราธอน 16 สัปดาห์
วัน | สัปดาห์ 1-4 | สัปดาห์ 5-8 | สัปดาร์ 9-12 | สัปดาห์ 13-16 |
จันทร์ | พัก | พัก | พัก + ยืดกล้ามเนื้อ | พัก + โยคะเบา |
อังคาร | วิ่งเบา 5K | Tempo 8-10K |
Interval 8-10x800m |
Tempo 12-15K |
พุธ | Cross-training 30 นาที |
Cross-training 45 นาที |
Cross-training 60 นาที |
Cross-training 45 นาที |
พฤหัสบดี | วิ่งเบา 6-8K | วิ่งเบา 10-12K | Tempo 12-15K |
วิ่งเบา 8-10K |
ศุกร์ | พัก | พัก | พัก + ยืดกล้ามเนื้อ | พัก |
เสาร์ | วิ่งเบา 8-10K | วิ่งยาว 15-20K | วิ่งยาว 25-32K | วิ่งยาว 15-20K |
อาทิตย์ | เดินเร็ว 30-40 นาที | Recovery Run 5 – 6K |
Recovery Run 8 – 106K |
เดินเบา 30 นาที |
Phase 1 สร้างพื้นฐาน (สัปดาห์ 1-4)
การสร้างพื้นฐานเป็นช่วงสำคัญที่สุดของการฝึกซ้อมมาราธอน ในช่วงนี้นักวิ่งจะค่อยๆ สร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและข้อต่อ โดยเน้นการวิ่งที่ความเร็วประมาณ 60-70% ของความเร็วสูงสุด การฝึกในช่วงนี้จะช่วยให้ร่างกายปรับตัวกับการวิ่งระยะไกล และลดความเสี่ยงการบาดเจ็บในระยะยาว
Phase 2 เพิ่มระยะทาง (สัปดาห์ 5-8)
หลังจากสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง เราจะเริ่มเพิ่มระยะทางวิ่งรวมต่อสัปดาห์ และแนะนำการวิ่งแบบ Tempo Run เข้ามาในโปรแกรม การเพิ่มความเข้มข้นของ Cross-training จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดรอง ทำให้ร่างกายพร้อมสำหรับการฝึกที่หนักขึ้นในเฟสต่อไป
Phase 3 เพิ่มความเร็วและความอดทน (สัปดาห์ 9-12)
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ท้าทายที่สุด เราจะเพิ่มทั้งความเร็วและระยะทางในการวิ่ง โดยเน้นการฝึกแบบ Interval Training เพื่อพัฒนาความเร็วและความอดทน Long Run จะมีระยะทางที่ไกลที่สุดในช่วงนี้ เพื่อให้ร่างกายคุ้นเคยกับการวิ่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน
Phase 4 Peak และ Taper (สัปดาห์ 13-16)
องสัปดาห์แรกของเฟสนี้จะเป็นช่วงที่มีความเข้มข้นสูงสุด ทั้งในแง่ความเร็วและระยะทาง จากนั้นในสองสัปดาห์สุดท้ายก่อนแข่ง เราจะค่อยๆ ลดปริมาณการฝึกลง แต่ยังคงความเข้มข้นไว้ การ Taper ช่วยให้ร่างกายได้พักฟื้นอย่างเต็มที่ และพร้อมสำหรับการแข่งขัน
การป้องกันการบาดเจ็บ
การยืดกล้ามเนื้อก่อนวิ่งออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงการบาดเจ็บ ควรยืดแต่ละท่าประมาณ 15-30 วินาที ทำ 2-3 รอบ โดยเน้นการยืดแบบนุ่มนวล ไม่หักโหม
1. ท่ายืดน่องและอะคิลลิส
ยืนเหยียบพื้นราบ ก้าวขาข้างหนึ่งไปด้านหน้า จากนั้นโน้มตัวไปด้านหน้าช้าๆ จนรู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อน่องของขาที่อยู่ด้านหลัง รักษาตำแหน่งนี้ไว้ ระวังอย่ายืดจนรู้สึกเจ็บ เน้นการยืดแบบนุ่มนวลและค่อยเป็นค่อยไป
2. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า
เริ่มจากท่ายืนตรง งอเข่าข้างหนึ่งไปด้านหลัง ใช้มือจับข้อเท้าดึงเข้าหาก้น พยายามเก็บสะโพกและรักษาลำตัวให้ตรง รู้สึกถึงการยืดที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า หากรู้สึกทรงตัวลำบากสามารถใช้มืออีกข้างจับผนังหรือที่ยึดเกาะได้
3. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง
นั่งบนพื้นในท่าเหยียดขาตรง โน้มตัวไปด้านหน้าพยายามเอื้อมมือไปแตะปลายเท้า สำคัญมากที่ต้องรักษาหลังให้ตรง ไม่ก้มหลังโค้ง การยืดควรรู้สึกที่ต้นขาด้านหลัง ไม่ใช่ที่หลังส่วนล่าง
4. ท่ายืดสะโพก
นอนหงายบนพื้น งอเข่าข้างหนึ่ง วางข้อเท้าบนเข่าอีกข้าง จากนั้นค่อยๆ ดึงขาล่างเข้าหาลำตัว จนรู้สึกตึงที่บริเวณสะโพก การยืดสะโพกช่วยลดความตึงและป้องกันอาการปวดหลังขณะวิ่ง
การ Cooldown ที่ถูกต้อง
- ลดความเร็วลงทีละน้อย (5 นาที)
- เดินเบาๆ ต่อ (3-5 นาที)
- ยืดกล้ามเนื้อแบบค้างไว้ 15-30 วินาทีต่อท่า
- ดื่มน้ำหรือเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียเหงื่อ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการวิ่งออกกำลังกาย
Q: วิ่งช้าๆ นานๆ vs วิ่งเร็วๆ สั้นๆ แบบไหนดีกว่ากัน?
A: ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย วิ่งช้านานๆ เหมาะกับการเผาผลาญไขมัน วิ่งเร็วสั้นๆ เหมาะกับการเพิ่มความเร็วและความอึด แนะนำให้ทำทั้งสองแบบสลับกัน
Q: ควรกินอาหารเสริมอะไรบ้าง?
A: นักวิ่งทั่วไปไม่จำเป็นต้องกินอาหารเสริมถ้าทานอาหารครบ 5 หมู่
Q: วิ่งเท่าไหร่ถึงจะเผาผลาญ 1000 แคลอรี่?
A: วิ่งด้วยความเร็วปานกลาง (8-10 กม./ชม.) ประมาณ 10 กิโลเมตร หรือใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จะเผาผลาญ 1000 แคลอรี่
Q: วิ่งครั้งแรกควรวิ่งกี่กิโลเมตร?
A: เริ่มต้นที่ 1-2 กิโลเมตร โดยวิ่งสลับเดิน 1-2 นาที ทำซ้ำ 4-5 รอบ เพื่อให้ร่างกายปรับตัว
Q: วิ่งแล้วหัวใจเต้นเร็วมาก อันตรายไหม?
A: หัวใจควรเต้น 60-80% ของอัตราสูงสุด (220-อายุ) หากเกินนี้ให้ลดความเร็วลง หรือเปลี่ยนเป็นเดินสลับวิ่ง
Q: ควรวิ่งก่อนหรือหลังกินข้าว?
A: ควรวิ่งหลังอาหาร 2-3 ชั่วโมง หรือทานอาหารว่างเบาๆ 30 นาทีก่อนวิ่ง เพื่อป้องกันอาการจุกเสียด
Q: วิ่งแล้วปวดหน้าแข้ง แก้ยังไง?
A: พักการวิ่ง 1-2 สัปดาห์ ประคบเย็น ยืดกล้ามเนื้อน่อง และตรวจสอบรองเท้าวิ่งว่าเหมาะสมหรือไม่
Q: วิ่งช่วงไหนเผาผลาญไขมันดีที่สุด?
A: ช่วงเช้าตอนท้องว่าง (5-7 นาฬิกา) ร่างกายจะใช้ไขมันเป็นพลังงานหลัก วิ่งที่ความหนัก 60-70% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด
Q: วิ่งแล้วเข่าเสื่อมเร็วจริงไหม?
A: ไม่จริง หากวิ่งถูกวิธี สวมรองเท้าที่เหมาะสม และไม่หักโหมเกินไป การวิ่งช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกและข้อต่อ
สรุป
การวิ่งอย่างมีประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการวิ่ง การวางแผนโปรแกรมฝึก โภชนาการ และการป้องกันการบาดเจ็บ สิ่งสำคัญที่สุดคือการเริ่มต้นอย่างถูกวิธีและค่อยๆ พัฒนา ไม่ว่าคุณจะวิ่งบนลู่หรือกลางแจ้ง หลักการสำคัญคือ:
- เริ่มจากการสร้างพื้นฐานที่ดี
- ฝึกอย่างมีแบบแผน
- ดูแลโภชนาการอย่างเหมาะสม
- ป้องกันการบาดเจ็บ
- พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
การวิ่งที่ถูกต้องจะช่วยพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ เพิ่มความแข็งแรง ความอึด และสุขภาพโดยรวม หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมหรือโปรแกรมฝึกที่เหมาะกับคุณ สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการวิ่งโดยตรง